วันอาทิตย์ที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

คำศัพท์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง

ADSLย่อมาจาก Asymmetric DSL หมายถึง เทคโนโลยี DSL ที่สามารถ ส่งสัญญาณข้อมูล แบบแบนด์วิดท์ไม่สมดุลย์ ผ่านคู่สายสัญญาณ เพียงคู่เดียวได้ โดยทั่วไป แบนด์วิดท์ของ ช่องสัญญาณขาลง (downstream bandwidth) ซึ่งมีทิศทาง การส่งข้อมูล จากเครือข่ายไปสู่ผู้ใช้ จะมีขนาด กว้างกว่าแบนด์วิดท์ของ ช่องสัญญาณขาขึ้น (upstream bandwidth) ซึ่งมีทิศทาง การส่งข้อมูล จากผู้ใช้ไปสู่เครือข่าย
ATMย่อมาจาก Asynchronous Transfer Mode ซึ่งภายใต้การส่งข้อมูล แบบ ATM นี้ ข้อมูลหลายๆ ประเภท (ตัวอย่างเช่น เสียง ภาพ หรือตัวอักษร และตัวเลข) จะถูกส่งไปในรูปของ หน่วยข้อมูลที่เรียกว่า Cells ที่มีความยาว คงที่ตลอด (แทนที่จะ ถูกส่งในลักษณะของ "กลุ่ม" ข้อมูล (packets) ที่มีความยาว หลากหลายไม่คงที่ ซึ่งใช้กันใน เทคโนโลยีเช่น Ethernet และ Fiber Distributed Data Interface หรือที่เรียกว่า FDDI)
Backboneเปรียบได้กับ กระดูกสันหลัง ของเครือข่ายสื่อสาร เป็นส่วนสำคัญ ของเครือข่าย ที่ทำหน้าที่เป็น เส้นทางหลัก ในการส่งข้อมูล ระหว่างเครือข่าย มากกว่า ที่จะใช้ส่งข้อมูล กันภายใน
Bandwidthแบนด์วิดท์ หมายถึง ความจุข้อมูล ของเส้นทาง เชื่อมต่อเครือข่าย ที่สามารถส่งผ่านไปได้ ซึ่งบอกถึง ความเร็วในการส่งข้อมูล ตัวอย่างเช่น การเชื่อมโยงระบบ Ethernet นั้น สามารถส่งผ่านข้อมูลได้ เป็นจำนวน 10 ล้านบิตต่อวินาที ในขณะที่ การเชื่อมโยงระบบ Fast Ethernet นั้น สามารถส่งข้อมูลได้ เร็วกว่าถึง 100 ล้านบิตต่อวินาที จึงมีแบนด์วิดท์มากกว่า เป็น 10 เท่า
Bridgeบริดจ์ เป็นอุปกรณ์สำหรับ ส่งผ่านกลุ่มข้อมูล (packets) ผ่านส่วนต่างๆ ของเครือข่ายสื่อสาร โดยอาศัย โปรโตคอลสื่อสาร อันเดียวกัน ในกรณีที่ กลุ่มข้อมูลนั้น ต้องถูกส่งไปยัง ผู้ใช้ปลายทาง ที่อยู่ในเครือข่าย ส่วนเดียวกันกับผู้ส่ง บริดจ์จะไม่ส่งผ่านข้อมูล ออกไป นอกส่วนเครือข่ายนั้น แต่ในกรณีที่ ต้องส่งข้อมูล ไปยังส่วนอื่น บริดจ์ก็จะส่งผ่านข้อมูล ออกไป ผ่านทาง Backbone ของเครือข่าย
Clientไคลเอ็นท์เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือเครื่องปลายทาง (terminal) ที่ต่ออยู่กับ เครือข่าย ที่สามารถใช้ "บริการ" ร่วมกันกับ เครื่องคอมพิวเตอร์อื่นได้ บริการเหล่านี้ จะถูกจัดเก็บ และบริหาร โดยเครื่องเซิร์ฟเวอร์
DSL เป็นคำย่อของ Digital Subscriber Line หรือคู่สายดิจิตอล เป็นเทคโนโลยี เครือข่ายสาธารณะ ที่สามารถส่งข้อมูล ด้วยความเร็วสูง ผ่านคู่สายทองแดง ธรรมดาทั่วไป เป็นระยะทางหนึ่งได้ ในปัจจุบันมี DSL อยู่ 4 ประเภทได้แก่ ADSL, HDSL, SDSL และ VDSL ซึ่งทุกประเภท จะอาศัย อุปกรณ์โมเด็มเป็นคู่ โดยอันหนึ่ง จะอยู่ที่ศูนย์ และอีกอัน จะอยู่ที่ผู้ใช้ ในกรณีที่ใช้ เป็นคู่สายไขว้ เทคโนโลยี DSL โดยส่วนใหญ่ จะไม่ใช้ แบนด์วิดท์ทั้งหมด ของคู่สายไขว้ จึงใช้ส่วนที่เหลือ เป็นช่องสัญญาณเสียงได้
Ethernetอีเธอร์เน็ต เป็นเทคโนโลยี ระบบเครือข่ายท้องถิ่น (LAN) ที่เป็นที่นิยมมากที่สุด โดยใช้โปรโตคอล CSMA/CD (ตรวจสอบการชนกัน ของข้อมูล) ในการส่งกลุ่มข้อมูล (packets) ระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ และสามารถส่งข้อมูล ผ่านสายเคเบิล ได้หลายประเภท ที่ความเร็วข้อมูล 10 ล้านบิตต่อวินาที เป็นที่รู้จักกันในอีกชื่อคือ 10BASE-T
Extranetเอ็กซ์ทราเน็ตเป็นระบบเครือข่าย สำหรับผู้ใช้ภายนอกระบบ (เช่น ผู้ผลิตอุปกรณ์ ผู้ขายอิสระ และตัวแทนจำหน่าย เป็นต้น) ให้สามารถ เข้ามาสืบค้นข้อมูล ของบริษัทเช่น ราคาสินค้า รายการสินค้าคงคลัง กำหนดการส่งของ เป็นต้น
Fast Ethernetเป็นระบบเครือข่ายอีกแบบ ที่ใช้วิธีการส่งข้อมูล แบบเดียวกับ ระบบอีเธอร์เน็ต (มีการตรวจจับ การชนกันของข้อมูล) แต่จะทำงานที่ ความเร็วสูงกว่าถึง 10 เท่าคือ 100 ล้านบิตต่อวินาที ระบบนี้ช่วยให้ สามารถปรับปรุง ระบบอีเธอร์เน็ตเดิม ที่มีการใช้งานหนาแน่น ให้มีประสิทธิภาพ การทำงานที่สูงขึ้น ได้อย่างราบรื่น เพราะใช้ระบบเคเบิล ระบบการใช้งาน และระบบการจัดการ เครือข่ายแบบเดียวกัน ระบบ Fast Ethernet นี้มีอยู่หลายแบบเช่น 100BASE-FX, 100BASE-T4 และ 100BASE-TX
FDDIเป็นคำย่อมาจาก Fiber Distributed Data Interface หรือระบบต่อเชื่อม กระจายข้อมูล ด้วยใยแก้วนำแสง เป็นเทคโนโลยี ระบบเครือข่ายท้องถิ่น (LAN) ที่นำพื้นฐาน ของเครือข่าย แบบส่งผ่านโทเค็น มาใช้บน สายเคเบิลใยแก้วนำแสง โดยทั่วไป จะใช้สำหรับระบบเครือข่ายหลัก ขององค์กรขนาดใหญ่
Frame Relay เป็นบริการของ เครือข่ายพื้นที่กว้าง (WAN) ที่เป็นการเชื่อมต่อ แบบปิด-เปิด (on-and-off) ระหว่างสถานที่ ที่อยู่ห่างกัน เป็นระยะทางไกล
FTP ย่อมาจาก File Transfer Protocol หรือโปรโตคอล ส่งผ่านไฟล์ เป็นส่วนหนึ่งของ กลุ่มโปรโตคอล อินเทอร์เนตหลัก (TCP/IP) ใช้สำหรับส่งไฟล์ จากเครื่องผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต มายังเครื่องคอมพิวเตอร์ ของคุณ
Gigabit Ethernet กิกะบิตอีเธอร์เน็ต เป็นระบบอีเธอร์เน็ต รุ่นล่าสุด ที่สามารถทำกา รส่งข้อมูล ที่ความเร็วถึง 1000 เมกะบิต (1 กิกะบิตต่อวินาที) ซึ่งเร็วกว่า อีเธอร์เน็ต แบบดั้งเดิม ถึง 100 เท่า แต่ยังสามารถ ทำงานร่วมกับ ระบบอีเธอร์เน็ตเดิม ที่มีอยู่ได้ ทั้งนี้เนื่องจาก ยังใช้โปรโตคอล CSMA/CD และ Media Access Control (MAC) ที่เหมือนกัน ระบบกิกะบิตอีเธอร์เน็ตนี้ เป็นคู่แข่งโดยตรง กับ ระบบ ATM และทำให้ หมดยุคของระบบ FDDI และ Token Ring ไปโดยปริยาย
HTML ย่อมาจาก Hypertext Markup Language ซึ่งเป็นภาษาสำหรับ กำหนดรูปแบบง่ายๆ ของเอกสาร ที่จะถูกแสดงโดย บราวเซอร์ ในระบบ อินเทอร์เน็ต
HTTP ย่อมาจาก Hypertext Transfer Protocol ซึ่งเป็นโปรโตคอล ที่คอยควบคุม การส่งเอกสารในรูปแบบต่างๆ บนระบบ อินเทอร์เน็ต
Hubเป็นอุปกรณ์สำหรับ เชื่อมต่อภายใน ระหว่างเครื่องไคลเอ็นท์ และเครื่องเซิร์ฟเวอร์ เข้าด้วยกัน รวมทั้งใช้ ทวน (หรือขยาย) สัญญาณระหว่างกันด้วย ตัวฮับเองทำหน้าที่เป็น จุดรวมสาย ในระบบเครือข่าย โดยมีลักษณะโครงสร้าง เป็นรูปดาว (แทนที่จะต่อกัน เป็นลักษณะบัส ซึ่งคอมพิวเตอร์จะถูก เชื่อมต่อๆกันไป เป็นลูกโซ่)
IDSL ย่อมาจาก ISDN digital subscriber line เป็นเทคโนโลยีระบบ DSL ที่ถูกตั้งชื่อตาม ISDN เนื่องจากมีความเร็วการเชื่อมต่อเบื้องต้น (Basic Rate Interface - BRI) เท่ากับ 144 กิโลบิตต่อวินาที ซึ่งเปรียบเสมือนกับ การที่ช่องสัญญาณ B ทั้ง 2 ช่อง และช่องสัญญาณ D ในระบบ ISDN ถูกรวมเข้าด้วยกันอย่างถาวร ภายในคู่สายสัญญาณเพียงคู่เดียว ระบบ IDSL นี้ใช้การเข้ารหัสสาย แบบ 2B1Q
Internet อินเทอร์เน็ต เป็นระบบเครือข่ายทั่วโลกขนาดใหญ่ ที่ต่อเชื่อม คอมพิวเตอร์ และเครือข่าย จำนวนมากทั่วโลก เข้าด้วยกัน และสามารถเข้าถึงได้ จากเครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องใดก็ได้ โดยอาศัย การต่อเชื่อมกับ โมเด็ม หรือเราเตอร์ (Router) และโปรแกรมที่เหมาะสม
Intranet อินทราเน็ต เป็นระบบเครือข่าย ภายในบริษัทหรือองค์กร ที่ใช้ประโยชน์จาก เครื่องมือบางอย่าง เหมือนกับที่นิยมใช้อยู่ เป็นจำนวนมาก ในระบบอินเทอร์เน็ต (เช่นใช้บราวเซอร์ สำหรับดูเอกสารต่างๆ หรือ การใช้ภาษา HTML สำหรับเตรียมข้อมูลภายใน หรือประกาศต่างๆ ของบริษัท เป็นต้น)
IP telephony ระบบโทรศัพท์ ผ่านอินเทอร์เน็ต เป็นระบบที่รวมเอา การติดต่อสื่อสาร ข้อมูลประเภทต่างๆ เช่นข้อมูลตัวอักษร ข้อมูลเสียงและภาพ เข้าด้วยกัน ผ่านโครงข่าย ที่ส่งข้อมูลแบบเป็นกลุ่ม (packet) ระบบโทรศัพท์ ผ่านอินเทอร์เน็ตนี้ ช่วยเพิ่มคุณค่า ให้กับเครือข่าย บริการรูปแบบใหม่ เหล่านี้ ด้วยการอาศัย การส่งข้อมูลประเภทต่างๆ เหล่านี้รวมกัน บนเส้นทางเชื่อมต่อเดียว ทำให้ธุรกิจขนาดเล็ก ขนาดกลาง และสาขาย่อยต่างๆ สามารถลดค่าใช้จ่าย สำหรับระบบเครือข่าย เสียงและข้อมูล ได้เป็นอย่างมาก
ISDN ย่อมาจาก Integrated Services Digital Network เป็นโปรโตคอล สำหรับสื่อสาร ที่ให้บริการ โดยบริษัทโทรศัพท์พื้นฐานต่างๆ สามารถให้บริการ เชื่อมต่อความเร็วสูง ระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ และเครือข่าย ในสถานที่ต่างๆ ได้
LAN เป็นคำย่อของ Local Area Network หรือเครือข่ายท้องถิ่น ซึ่งโดยปกติ หมายถึงเครือข่าย หรือกลุ่มของส่วนต่างๆ ของเครือข่าย ที่มีอยู่ ภายในห้องเดียวกัน หรือบริเวณอาคารเดียวกัน เกี่ยวข้องกับระบบ WAN
Modem โมเด็ม เป็นอุปกรณ์สำหรับ ต่อเชื่อมเครื่องคอมพิวเตอร์ เข้ากับ เครื่องคอมพิวเตอร์ และเครือข่ายอื่นๆ โดยอาศัย คู่สาย โทรศัพท์ธรรมดาเท่านั้น โมเด็มจะทำการ "โมดูเลต" สัญญาณดิจิตอล ของเครื่องคอมพิวเตอร์ เข้ากับสัญญาณแอนาล็อก สำหรับการส่งข้อมูล และทำการ "ดีโมดูเลต" สัญญาณแอนาล็อกเหล่านั้น กลับไปเป็น ข้อมูลดิจิตอล ที่คอมพิวเตอร์อีกฝั่งหนึ่ง สามารถเข้าใจได้
Packet เป็นกลุ่มของข้อมูลที่มีการรับส่งกันอยู่ ภายในเครือข่าย ที่มีการเติม "เฮดเดอร์" ซึ่งเป็นข้อมูล ที่บอกถึงลักษณะ ของข้อมูลที่บรรจุอยู่ภายใน และปลายทางของ แพ็คเก็ต เราสามารถเปรียบ แพ็คเก็ต ได้กับ "ซองใส่ข้อมูล" โดยที่มีส่วนเฮดเดอร์ เปรียบได้กับที่อยู่นั่นเอง

ส่วนประกอบของระบบเครือข่าย



ส่วนประกอบของระบบเครือข่าย
การใช้งานระบบเครือข่ายนั้นประกอบด้วย จุดต่อ (Node) สำคัญ 2 ประเภท คือ แบบคอมพิวติงโหนด หรือจุดต่อ ที่ทำหน้าที่ประมวลผลข้อมูล และแบบสวิตชิงโหนด หรือจุดต่อที่ทำหน้าที่ส่งข้อมูล การส่งข้อมูลจากคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่ง ไปยังคอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่งจะส่งข้อมูลจากผู้ใช้ผ่านสวิตชิงโหนดและคอมพิวติงโหนดต่างๆ ไปถึงผู้รับ เมื่อผู้รับทำงานเสร็จก็จะส่งข้อมูลผ่านสวิตชิงโหนดต่างๆ กลับมายังผู้ส่ง
ส่วนประกอบของเครื่อข่ายคอมพิวเตอร์ นิยมแบ่งเป็น 2 ประเภทตามหน้าที่ของโหนด คือ
1. เครือข่ายส่วนย่อยของผู้ใช้ (User Subnetwork) ประกอบด้วยโฮสต์คอมพิวเตอร์ (Host Computer) หรือคอมพิวเตอร์แม่ข่าย และ เทอร์มินัลคอนโทรลเลอร์ (Terminal Controller) หรือส่วนควบคุมปลายทาง ซึ่งในการทำงานระบบนี้ คอมพิวเตอร์จะทำงานช้ามาก เพราะต้องรอการประมวลผลจากศูนย์กลางในการใช้งาน ทำให้ปัจจุบันมีระบบที่เรียกว่า ไคลเอนต์/เซิร์ฟเวอร์ (Client/Server) ขึ้นมาใช้งานแทน โดยที่มีการทำงานแบบกระจายคือ มีเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่เครื่องบริการ (Server) ให้บริการเก็บแฟ้มข้อมูล (File Server) , บริการพิมพ์งาน (Printing Server) เป็นต้น
ส่วนคอมพิวเตอร์ที่เป็นเครื่องรับบริการ (Client) จะมีหน่วยประมวลผลกลาง (CPU) ของตนเอง (จะมีฮาร์ดดิสก์ หรือเครื่องพิมพ์ด้วยก็ได้) เครื่องไคลเอนต์จะส่งคำของานไปยังคอมพิวเตอร์แม่ข่าย แล้วนำมาเก็บไว้ในซีพียูของตนเอง แล้วทำการประมวลผล จากนั้นก็ส่งกลับไปยังแม่ข่าย ทำให้การทำงานรวดเร็วขึ้น
2. เครือข่ายย่อยส่วนของการสื่อสาร (Communication Subnetwork) เป็นการติดต่อสื่อสารกันผ่านสายส่ง เพื่อส่งสารข้อมูลจากต้นทางไปถึงปลายทาง โดยผ่านทางสายเคเบิล สายโทรศัพท์ และสัญญาณดาวเทียม เป็นต้น
ซึ่งจะต้องมีตัวแปลงสัญญาณ เช่น โมเด็ม เพื่อแปลงสัญญาณจากคอมพิวเตอร์ให้เป็นสัญญาณที่ผ่านสายโทรศัพท์ได้ โหนดที่ทำหน้าที่เชื่อมประสานกับเครื่องย่อยของผู้ใช้ และทำหน้าที่ส่งข้อมูลผ่านเครือข่ายจากต้นทางไปยังปลายทางเราเรียกว่า เร้าเตอร์ (Routers)
ระบบเครือข่ายย่อยส่วนของการสื่อสาร แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ แบบจุดต่อจุด (Point to Point Channels) และ แบบแพร่กระจายข้อมูล (Broadcast Channels)

ข้อมูลจาก http://school.obec.go.th/ckn/network1/new_page_6.htm

ข้อเปรียบเทียบของระบบเครือข่ายแต่ละแบบ

ระบบเครือข่ายแบบ LAN MAN และ WAN มีความแตกต่างกันอยู่หลายประการ พอสรุปได้ดังนี้
1. ระบบเครือข่ายแบบ LAN มีระยะห่างจากจุดต่อจุดจำกัด ขนาดสูงสุดปกติไม่เกิน 2
กิโลเมตร และต่ำสุดไม่น้อยกว่า 1 เมตร
2. ระบบเครือข่ายแบบ LAN มีความเร็วระหว่าง 1–100 เมกะบิตต่อวินาที ในขณะที่ระบบเครือข่ายแบบ MAN จะทำงานด้วยความเร็วน้อยกว่า 10 เมกะบิตต่อวินาที
3. ระบบเครือข่ายแบบ LAN มีอัตราข้อผิดพลาดต่ำกว่าระบบเครือข่ายแบบ WAN ทั้งนี้เนื่องจากมีระยะทางในการใช้งานไม่กว้างนัก ทำให้โอกาสที่จะถูกรบกวนสัญญาณมีน้อยกว่า
4. ระบบเครือข่ายแบบ LAN จะอยู่ภายใต้การควบคุมของคน หรือองค์กรเดียว แต่ระบบ เครือข่ายแบบ WAN จะมีเครือข่ายการใช้งานทั่วโลก ดังนั้นการใช้งานจะขึ้นอยู่กับการควบคุมขององค์กรการสื่อสารของแต่ละประเทศด้วย

ความสัมพันธ์ของ LAN กับ WAN

Lan หรือ Local Area Network เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ระยะใกล้ คือใช้เชื่อมต่อกัน ในบริเวณที่ไม่ห่างจากกันมากนัก โดยการ เชื่อมต่อนี้ทำได้โดย สายสัญญาณพิเศษ ในสถาน ที่หนึ่ง ๆ หรือองค์กรหนึ่ง ๆ สามารถที่จะสร้างระบบ Lan หลาย ๆ ชุดได้หรือเชื่อม ระบบ Lan แต่ละชุดที่มีอยู่แล้วเข้าด้วยกันอีกทีก็ได้ อุปกรณ์ที่ใช้ในการประกอบด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีการติดตั้ง การ์ด เน็ตเวิร์คหรือ เรียกย่อ ๆ ว่า Card lan สื่อสัญญาณซึ่งอาจ เป็นสายเคเบิล แบบใดแบหนึ่ง ระบบปฏิบัติ การควบคุมเครือข่าย เช่น Novell Banyan VINEs Windows NT Server เป็นต้น
คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องจะเชื่อมโยงใยกันในระบบเครือข่าย LAN จะต้อง มีส่วน ประกอบ ที่สำคัญ คือ การ์ด Lan หรือ Network Interface Card (NIC) อุปกรณ์ชิ้นนี้จะช่วยให้เครื่องคอมพิวเตอร์ติดต่อกันได้ในเครือข่ายเสมือนกับที่โมเด็มเป็นอุปกรณ์ช่วย ให้เครื่อง คอมพิวเตอร์ติดต่อส่งข้อมูลผ่านสาย โทรศัพท์ได้ ที่แตกต่างกันคือ การ์ด Land นี้เป็น อุปกรณ์ที่ทำให้เครื่อง คอมพิวเตอร์ สามารถสื่อสารข้อมูลด้วยความเร็วสูงในระดับ 10 หรือ 100 เมกะบิตต่อวินาที เร็วกว่าที่ส่งผ่านโมเด็มประมาณ 500 - 2-3 พันเท่า โดยมีสัญญาณ แบบพิเศษเป็นตัวกลางสายดังกล่าว เช่น Coaxial (สาย Lan ที่เห็นเป็นสีดำ) สาย Fiber Optic หรือใยแก้วนำแสง สาย Unshield Twisted Pair (UTP) คล้าย ๆ โทรศัพท์ธรรมดา แต่ใหญ่กว่าเล็กน้อย เป็นต้น การ์ด Lan แต่ละการ์ดที่ออกจาก โรงงานจะต้อง มีหมายเลข อ้างอิงโดยเฉพาะซึ่งแตกต่างกัน เพื่อใช้อ้างถึงระหว่างเครื่อคอมพิวเตอร์ที่ต่ออยู่ด้วย กันเป็น เครือข่ายให้ สามารถติดต่อกันได ้
ในกรณีที่มีระบบเครือข่าย Lan ตั้งแต่ 2 ระบบขึ้นไปที่อยู่ไกลบ้าน ไม่ได้อยู่ใน บริเวณเดียวกัน หรือมีคอมพิวเตอร์บางเครื่องในเครือ ข่ายที่อยู่ไกล มาก จำเป็นต้อง ใช้อุปกรณ์และ บริการพิเศษเพื่อช่วยในการเชื่อมโยงกัน ซึ่งจะเรียกว่าเป็นเครือข่ายระยะ ไกลหรือ เครือข่ายแบบ Wan หรือ Wide Area Network ในการเชื่อมกัน นี้สามารถ ทำได้หลายวิธี เช่น เชื่อมผ่าน สาย ที่เช่ามาเป็นพิเศษ (Leased Line ) จากองค์การโทรศัพท์ เชื่อมผ่าน ระบบไมโครเวฟ เชื่อมผ่านเครือข่ายบริการ ISDN ของการสื่อสาร ฯ หรือแม้แต่ ผ่านดาวเทียม เป็นต้น อุปกรณ์พิเศษที่จะช่วยเชื่อม LAN เข้าด้วยกันให้กลายเป็น Wan นี้เรียกว่าประตูเชื่อมต่อ หรือ Gateway ซึ่งจะทำให้ระบบ เครือข่ายขยายตัวได้อย่างไม่สิ้นสุด
จากเครื่องคอมพิวเตอร์ใช้งานเดี่ยว ๆ หลายเครื่องถูกเชื่อมต่อกันกลายเป็น เครือข่าย Lan เมื่อมีเครือข่าย Lan หลาย ๆ ระบบแยกกัน ก็ถูกเชื่อมโยงกันกลายเป็นเครือข่ายแบบ Wan โดยหลักการแล้วเครือข่าย Wan จะประกอบไปด้วยส่วนต่าง ๆ 4 ส่วนคือ
ส่วนแรก ได้แก่ อุปกรณ์ที่ใช้ต่อเชื่อม Lan เข้าด้วยกัน เช่น Bridge หรือ Router
ส่วนที่สอง คืออุปกรณ์ช่วยในการต่อเข้าสู่เครือข่าย Wan เป็นตัว Gateway เช่น โมเด็มในกรณีใช้บริการผ่านบริการผ่าน เครือข่ายโทรศัพท์หรือ Terminal Adapter ในกรณีใช้บริการ ISDN
ส่วนที่สาม ได้แก่ สื่อสัญญาณหรือ Media เช่น สายโทรศัพท์ คลื่นวิทยุ ฯลฯ
ส่วนที่สี่ คือ ส่วนของการบริการ Wan หมายถึง เครือข่ายของผู้ให้บริการในการเชื่อมต่อระยะไกล ๆ เช่น องค์กรโทรศัพย์ หรือการสื่อสาร (รวมทั้งผู้รับสัมปทานจากจากทั้งสองหน่วยงาน เช่น DataNet เป็นต้น เช่น บริการเช่าพิเศษแบบที่ต่อจากจุดหนึ่ง ไปยังอีกจุดหนึ่งโดยตรง ไม่ต้องผ่านระบบชุมสายโทรศัพท์ธรรมดา (Point to Point) เช่น Leased Line หรือ T1. บริการที่ผ่าน ระบบชุมสาย (Circuit Swith) เช่น บริการโทรศัพท์หรือบริการ ISDN, บริการที่ต้องจัดส่งข้อมูลให้เป็นแบบส่วน ๆ (Packet) โดยคิดเงินตามปริมาณข้อมูลที่รับส่ง (Packet Swith) เช่น บริการ X.25 หรือบริการ Frame Relay
จากนั้นเครือข่าย Wan หนึ่งก็สามารถเชื่อมต่อเข้ากับ Wan ในอีกที่หนึ่งหรืออีก ประเภท หนึ่งได้ ทำให้ระบบเครือข่ายเป็นไป ในลักษณะ Internetworking ขยายครอบคลุมกว้าง ขึ้นไป เรื่อย ๆ ซึ่งเป็นหลักการที่กลาย มาเป็นระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตในที่สุด
การเชื่อมโยงในลักษณะดังกล่าวระหว่างระบบที่แตกต่างกัน จำเป็นต้องมีมาตร ฐาน ในกา รติดต่อ กัน หรือเรียกว่าต้องมีระเบียบ วิธีการสื่อความหมายกัน ซึ่งเรียกเป็นศัพท์เฉพาะ ว่าโปรโตคอล (Potocol) มิฉะนั้นเครื่อง คอมพิวเตอร์ที่ติดต่อกัน ก็จะคุยกันไม่รู้เรื่อง ไม่ทราบ ว่า มีใคร ติดต่ออยู่บ้างและไม่ทราบว่าใครอยู่ที่ไหน วิธีการที่จะคุยกันได้ ก็มีการกำหนด วิธีการติดต่อทุกคนทราบและยึดถือ เป็นมาตรฐานได้ สำหรับเครือข่าย อินเตอร์เน็ต มีการใช้งานโปรโตคอลที่ชื่อว่า TCP/IP หรือTransmision Control Protocol / Internet Protocol เป็นระเบียบวิธีการ มาตรฐานในการติดต่อ กันใครต้องการเชื่อมต่อกันเป็นเครือข่าย อินเตอร์เนตก็ต้องไปคุยกันแบบTCP/IP ปัจจุบันนี้ในเครือข่ายอินเตอร์เนตมีคอมพิวเตอร์เชื่อมต่อยู่หลายล้านเครื่องและมีผู้ใช้งาน หลายสิบล้านคน โดยทั้งจำนวน เครื่องและจำนวน คนต่างก็พุ่งทะยาน ขึ้นเรื่อย ๆ ทุกวัน
ข้อมูลจากhttp://www.med.cmu.ac.th/eiu/informatics/COMM/Life/Net%20work/Lan%20Wan.htm

วันอาทิตย์ที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

ประเภทของระบบเครือข่าย


1. เครือข่ายท้องถิ่น (Local Area Network หรือ LAN)
เป็นเครือข่ายระยะใกล้ ใช้กันอยู่ในบริเวณไม่กว้างนัก อาจอยู่ในองค์กรเดียวกัน หรืออาคารที่ใกล้กัน เช่น ภาพในสำนักงาน ภายในโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัย ระบบเครือข่ายท้องถิ่นจะช่วยให้ติดต่อกันได้สะดวก ช่วยลดต้นทุน และเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานอุปกรณ์ต่างๆ


2. เครือข่ายระดับเมือง (Metropolitan Area Network หรือ MAN)
เป็นเครือข่ายขนาดกลาง ใช้ภายในเมือง หรือจังหวัดที่ใกล้เคียงกัน เช่น ระบบเคเบิลทีวีที่มีสมาชิกตามบ้านทั่วไปที่เราดูกันอยู่ทุกวันก็จัดเป็นระบบเครือข่ายแบบ MAN

3. เครือข่ายระดับประเทศ (Wide Area Network หรือ WAN)
เป็นระบบเครือข่ายขนาดใหญ่ ใช้ติดตั้งบริเวณกว้าง มีสถานนีหรือจุดเชื่อมต่อมากมาย มากกว่า 1 แสนจุด ใช้สื่อกลางหลายชนิด เช่น ระบบคลื่นวิทยุ ไมโครเวฟ หรือดาวเทียม




ประโยชน์ของระบบเครือข่าย



การแลกเปลี่ยนข้อมูลทำได้ง่ายโดยผู้ใช้ในเครือข่ายสามารถที่จะดึงข้อมูลจากส่วนกลาง หรือข้อมูลจากผู้ใช้คนอื่นมาใช้ได้อย่างรวดเร็วและง่ายดาย เหมือนกับการดึงข้อมูลมาใช้จากเครื่องของตนเอง และนอกจากดึงไฟล์ข้อมูลมาใช้แล้ว ยังสามารถคัดลอกไฟล์ไปให้ผู้อื่นได้อีกด้วย

ใช้ทรัพยากรร่วมกันได้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกับเครือข่ายนั้น ถือว่าเป็นทรัพยากรส่วนกลางที่ผู้ใช้ในเครือข่ายทุกคน สามารถใช้ได้โดยการสั่งงานจากเครื่องคอมพิวเตอร์ของ ตัวเองผ่านเครือข่ายไปยังอุปกรณ์นั้น เช่น มีเครื่องพิมพ์ส่วนกลางในเครือข่าย เป็นต้น ซึ่งทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายได้ด้วย


ใช้โปรแกรมร่วมกันผู้ใช้ในเครือข่ายสามารถที่จะรันโปรแกรมจาก เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนกลาง เช่น โปรแกรม Word, Excel, Power Point ได้ โดยไม่จำเป็นจะต้องจัดซื้อโปรแกรม สำหรับคอมพิวเตอร์ทุกเครื่อง เป็นการประหยัดงบประมาณในการจัดซื้อ และยังประหยัดเนื้อที่ในหน่วยความจำด้วย



ทำงานประสานกันเป็นอย่างดีก่อนที่เครือข่ายจะเป็นที่นิยม องค์กรส่วนใหญ่จะใช้คอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ เช่น เมนเฟรม หรือมินิคอมพิวเตอร์ ในการจัดการงาน และข้อมูลทุกอย่างในองค์กร แต่ปัจจุบันองค์กรสามารถกระจายงานต่าง ๆ ให้กับหลาย ๆ เครื่อง แล้วทำงานประสานกัน เช่น การใช้เครือข่ายในการจัดการระบบงานขาย โดยให้เครื่องหนึ่งทำหน้าที่จัดการการเกี่ยวกับใบสั่งซื้อ อีกเครื่องหนึ่งจัดการกับระบบสินค้าคงคลัง เป็นต้น






































ความหมายและความสำคัญของระบบเครือข่าย


ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ( Computer Network ) หมายถึง การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไปเข้าด้วยกันด้วยสายเคเบิล หรือสื่ออื่นๆ ทำให้คอมพิวเตอร์สามารถรับส่งข้อมูลแก่กันและกันได้


ในกรณีที่เป็นการเชื่อมต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์หลายๆ เครื่องเข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เป็นศูนย์กลาง เราเรียกคอมพิวเตอร์ที่เป็นศูนย์กลางนี้ว่า โฮสต์ (Host) และเรียกคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่เข้ามาเชื่อมต่อว่า ไคลเอนต์ (Client)
ระบบเครือข่าย (Network) จะเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกันเพื่อการติดต่อสื่อสาร เราสามารถส่งข้อมูลภายในอาคาร หรือข้ามระหว่างเมืองไปจนถึงอีกซีกหนึ่งของโลก ซึ่งข้อมูลต่างๆ อาจเป็นทั้งข้อความ รูปภาพ เสียง ก่อให้เกิดความสะดวก รวดเร็วแก่ผู้ใช้ ซึ่งความสามารถเหล่านี้ทำให้เครือข่ายคอมพิวเตอร์มีความสำคัญ และจำเป็นต่อการใช้งานในแวดวงต่างๆ

วันอาทิตย์ที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

ดาราที่ชื่นชอบ


ต้ ริร์

ชื่อ : จรินทร์พร จุนเกียรติ
ชื่อเล่น : เต้ย
วันเกิด : 29 มกราคม 2533
น้ำหนัก: 40 ส่วนสูง : 160 ซม.
ราศี : ธนู
ศาสนา :พุทธ
อาหารที่ชอบ : ส้มตำปูปลาร้า
ขนมที่ชอบ : อะไรก็ได้
กีฬาที่ชอบ : แทบจะไม่มี555+
แนวภาพยนต์ที่ชอบ : คอมมาดี้
แนวเพลงที่ชอบ : สดใส ฮาๆ
นักร้องที่ชอบ : นักร้องเกาหลี
นักแสดงที่ชอบ : อั้ม พัชรราภา Rainny yang
เพลงที่ชอบ : เยอะแยะ