วันอาทิตย์ที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

คำศัพท์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง

ADSLย่อมาจาก Asymmetric DSL หมายถึง เทคโนโลยี DSL ที่สามารถ ส่งสัญญาณข้อมูล แบบแบนด์วิดท์ไม่สมดุลย์ ผ่านคู่สายสัญญาณ เพียงคู่เดียวได้ โดยทั่วไป แบนด์วิดท์ของ ช่องสัญญาณขาลง (downstream bandwidth) ซึ่งมีทิศทาง การส่งข้อมูล จากเครือข่ายไปสู่ผู้ใช้ จะมีขนาด กว้างกว่าแบนด์วิดท์ของ ช่องสัญญาณขาขึ้น (upstream bandwidth) ซึ่งมีทิศทาง การส่งข้อมูล จากผู้ใช้ไปสู่เครือข่าย
ATMย่อมาจาก Asynchronous Transfer Mode ซึ่งภายใต้การส่งข้อมูล แบบ ATM นี้ ข้อมูลหลายๆ ประเภท (ตัวอย่างเช่น เสียง ภาพ หรือตัวอักษร และตัวเลข) จะถูกส่งไปในรูปของ หน่วยข้อมูลที่เรียกว่า Cells ที่มีความยาว คงที่ตลอด (แทนที่จะ ถูกส่งในลักษณะของ "กลุ่ม" ข้อมูล (packets) ที่มีความยาว หลากหลายไม่คงที่ ซึ่งใช้กันใน เทคโนโลยีเช่น Ethernet และ Fiber Distributed Data Interface หรือที่เรียกว่า FDDI)
Backboneเปรียบได้กับ กระดูกสันหลัง ของเครือข่ายสื่อสาร เป็นส่วนสำคัญ ของเครือข่าย ที่ทำหน้าที่เป็น เส้นทางหลัก ในการส่งข้อมูล ระหว่างเครือข่าย มากกว่า ที่จะใช้ส่งข้อมูล กันภายใน
Bandwidthแบนด์วิดท์ หมายถึง ความจุข้อมูล ของเส้นทาง เชื่อมต่อเครือข่าย ที่สามารถส่งผ่านไปได้ ซึ่งบอกถึง ความเร็วในการส่งข้อมูล ตัวอย่างเช่น การเชื่อมโยงระบบ Ethernet นั้น สามารถส่งผ่านข้อมูลได้ เป็นจำนวน 10 ล้านบิตต่อวินาที ในขณะที่ การเชื่อมโยงระบบ Fast Ethernet นั้น สามารถส่งข้อมูลได้ เร็วกว่าถึง 100 ล้านบิตต่อวินาที จึงมีแบนด์วิดท์มากกว่า เป็น 10 เท่า
Bridgeบริดจ์ เป็นอุปกรณ์สำหรับ ส่งผ่านกลุ่มข้อมูล (packets) ผ่านส่วนต่างๆ ของเครือข่ายสื่อสาร โดยอาศัย โปรโตคอลสื่อสาร อันเดียวกัน ในกรณีที่ กลุ่มข้อมูลนั้น ต้องถูกส่งไปยัง ผู้ใช้ปลายทาง ที่อยู่ในเครือข่าย ส่วนเดียวกันกับผู้ส่ง บริดจ์จะไม่ส่งผ่านข้อมูล ออกไป นอกส่วนเครือข่ายนั้น แต่ในกรณีที่ ต้องส่งข้อมูล ไปยังส่วนอื่น บริดจ์ก็จะส่งผ่านข้อมูล ออกไป ผ่านทาง Backbone ของเครือข่าย
Clientไคลเอ็นท์เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือเครื่องปลายทาง (terminal) ที่ต่ออยู่กับ เครือข่าย ที่สามารถใช้ "บริการ" ร่วมกันกับ เครื่องคอมพิวเตอร์อื่นได้ บริการเหล่านี้ จะถูกจัดเก็บ และบริหาร โดยเครื่องเซิร์ฟเวอร์
DSL เป็นคำย่อของ Digital Subscriber Line หรือคู่สายดิจิตอล เป็นเทคโนโลยี เครือข่ายสาธารณะ ที่สามารถส่งข้อมูล ด้วยความเร็วสูง ผ่านคู่สายทองแดง ธรรมดาทั่วไป เป็นระยะทางหนึ่งได้ ในปัจจุบันมี DSL อยู่ 4 ประเภทได้แก่ ADSL, HDSL, SDSL และ VDSL ซึ่งทุกประเภท จะอาศัย อุปกรณ์โมเด็มเป็นคู่ โดยอันหนึ่ง จะอยู่ที่ศูนย์ และอีกอัน จะอยู่ที่ผู้ใช้ ในกรณีที่ใช้ เป็นคู่สายไขว้ เทคโนโลยี DSL โดยส่วนใหญ่ จะไม่ใช้ แบนด์วิดท์ทั้งหมด ของคู่สายไขว้ จึงใช้ส่วนที่เหลือ เป็นช่องสัญญาณเสียงได้
Ethernetอีเธอร์เน็ต เป็นเทคโนโลยี ระบบเครือข่ายท้องถิ่น (LAN) ที่เป็นที่นิยมมากที่สุด โดยใช้โปรโตคอล CSMA/CD (ตรวจสอบการชนกัน ของข้อมูล) ในการส่งกลุ่มข้อมูล (packets) ระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ และสามารถส่งข้อมูล ผ่านสายเคเบิล ได้หลายประเภท ที่ความเร็วข้อมูล 10 ล้านบิตต่อวินาที เป็นที่รู้จักกันในอีกชื่อคือ 10BASE-T
Extranetเอ็กซ์ทราเน็ตเป็นระบบเครือข่าย สำหรับผู้ใช้ภายนอกระบบ (เช่น ผู้ผลิตอุปกรณ์ ผู้ขายอิสระ และตัวแทนจำหน่าย เป็นต้น) ให้สามารถ เข้ามาสืบค้นข้อมูล ของบริษัทเช่น ราคาสินค้า รายการสินค้าคงคลัง กำหนดการส่งของ เป็นต้น
Fast Ethernetเป็นระบบเครือข่ายอีกแบบ ที่ใช้วิธีการส่งข้อมูล แบบเดียวกับ ระบบอีเธอร์เน็ต (มีการตรวจจับ การชนกันของข้อมูล) แต่จะทำงานที่ ความเร็วสูงกว่าถึง 10 เท่าคือ 100 ล้านบิตต่อวินาที ระบบนี้ช่วยให้ สามารถปรับปรุง ระบบอีเธอร์เน็ตเดิม ที่มีการใช้งานหนาแน่น ให้มีประสิทธิภาพ การทำงานที่สูงขึ้น ได้อย่างราบรื่น เพราะใช้ระบบเคเบิล ระบบการใช้งาน และระบบการจัดการ เครือข่ายแบบเดียวกัน ระบบ Fast Ethernet นี้มีอยู่หลายแบบเช่น 100BASE-FX, 100BASE-T4 และ 100BASE-TX
FDDIเป็นคำย่อมาจาก Fiber Distributed Data Interface หรือระบบต่อเชื่อม กระจายข้อมูล ด้วยใยแก้วนำแสง เป็นเทคโนโลยี ระบบเครือข่ายท้องถิ่น (LAN) ที่นำพื้นฐาน ของเครือข่าย แบบส่งผ่านโทเค็น มาใช้บน สายเคเบิลใยแก้วนำแสง โดยทั่วไป จะใช้สำหรับระบบเครือข่ายหลัก ขององค์กรขนาดใหญ่
Frame Relay เป็นบริการของ เครือข่ายพื้นที่กว้าง (WAN) ที่เป็นการเชื่อมต่อ แบบปิด-เปิด (on-and-off) ระหว่างสถานที่ ที่อยู่ห่างกัน เป็นระยะทางไกล
FTP ย่อมาจาก File Transfer Protocol หรือโปรโตคอล ส่งผ่านไฟล์ เป็นส่วนหนึ่งของ กลุ่มโปรโตคอล อินเทอร์เนตหลัก (TCP/IP) ใช้สำหรับส่งไฟล์ จากเครื่องผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต มายังเครื่องคอมพิวเตอร์ ของคุณ
Gigabit Ethernet กิกะบิตอีเธอร์เน็ต เป็นระบบอีเธอร์เน็ต รุ่นล่าสุด ที่สามารถทำกา รส่งข้อมูล ที่ความเร็วถึง 1000 เมกะบิต (1 กิกะบิตต่อวินาที) ซึ่งเร็วกว่า อีเธอร์เน็ต แบบดั้งเดิม ถึง 100 เท่า แต่ยังสามารถ ทำงานร่วมกับ ระบบอีเธอร์เน็ตเดิม ที่มีอยู่ได้ ทั้งนี้เนื่องจาก ยังใช้โปรโตคอล CSMA/CD และ Media Access Control (MAC) ที่เหมือนกัน ระบบกิกะบิตอีเธอร์เน็ตนี้ เป็นคู่แข่งโดยตรง กับ ระบบ ATM และทำให้ หมดยุคของระบบ FDDI และ Token Ring ไปโดยปริยาย
HTML ย่อมาจาก Hypertext Markup Language ซึ่งเป็นภาษาสำหรับ กำหนดรูปแบบง่ายๆ ของเอกสาร ที่จะถูกแสดงโดย บราวเซอร์ ในระบบ อินเทอร์เน็ต
HTTP ย่อมาจาก Hypertext Transfer Protocol ซึ่งเป็นโปรโตคอล ที่คอยควบคุม การส่งเอกสารในรูปแบบต่างๆ บนระบบ อินเทอร์เน็ต
Hubเป็นอุปกรณ์สำหรับ เชื่อมต่อภายใน ระหว่างเครื่องไคลเอ็นท์ และเครื่องเซิร์ฟเวอร์ เข้าด้วยกัน รวมทั้งใช้ ทวน (หรือขยาย) สัญญาณระหว่างกันด้วย ตัวฮับเองทำหน้าที่เป็น จุดรวมสาย ในระบบเครือข่าย โดยมีลักษณะโครงสร้าง เป็นรูปดาว (แทนที่จะต่อกัน เป็นลักษณะบัส ซึ่งคอมพิวเตอร์จะถูก เชื่อมต่อๆกันไป เป็นลูกโซ่)
IDSL ย่อมาจาก ISDN digital subscriber line เป็นเทคโนโลยีระบบ DSL ที่ถูกตั้งชื่อตาม ISDN เนื่องจากมีความเร็วการเชื่อมต่อเบื้องต้น (Basic Rate Interface - BRI) เท่ากับ 144 กิโลบิตต่อวินาที ซึ่งเปรียบเสมือนกับ การที่ช่องสัญญาณ B ทั้ง 2 ช่อง และช่องสัญญาณ D ในระบบ ISDN ถูกรวมเข้าด้วยกันอย่างถาวร ภายในคู่สายสัญญาณเพียงคู่เดียว ระบบ IDSL นี้ใช้การเข้ารหัสสาย แบบ 2B1Q
Internet อินเทอร์เน็ต เป็นระบบเครือข่ายทั่วโลกขนาดใหญ่ ที่ต่อเชื่อม คอมพิวเตอร์ และเครือข่าย จำนวนมากทั่วโลก เข้าด้วยกัน และสามารถเข้าถึงได้ จากเครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องใดก็ได้ โดยอาศัย การต่อเชื่อมกับ โมเด็ม หรือเราเตอร์ (Router) และโปรแกรมที่เหมาะสม
Intranet อินทราเน็ต เป็นระบบเครือข่าย ภายในบริษัทหรือองค์กร ที่ใช้ประโยชน์จาก เครื่องมือบางอย่าง เหมือนกับที่นิยมใช้อยู่ เป็นจำนวนมาก ในระบบอินเทอร์เน็ต (เช่นใช้บราวเซอร์ สำหรับดูเอกสารต่างๆ หรือ การใช้ภาษา HTML สำหรับเตรียมข้อมูลภายใน หรือประกาศต่างๆ ของบริษัท เป็นต้น)
IP telephony ระบบโทรศัพท์ ผ่านอินเทอร์เน็ต เป็นระบบที่รวมเอา การติดต่อสื่อสาร ข้อมูลประเภทต่างๆ เช่นข้อมูลตัวอักษร ข้อมูลเสียงและภาพ เข้าด้วยกัน ผ่านโครงข่าย ที่ส่งข้อมูลแบบเป็นกลุ่ม (packet) ระบบโทรศัพท์ ผ่านอินเทอร์เน็ตนี้ ช่วยเพิ่มคุณค่า ให้กับเครือข่าย บริการรูปแบบใหม่ เหล่านี้ ด้วยการอาศัย การส่งข้อมูลประเภทต่างๆ เหล่านี้รวมกัน บนเส้นทางเชื่อมต่อเดียว ทำให้ธุรกิจขนาดเล็ก ขนาดกลาง และสาขาย่อยต่างๆ สามารถลดค่าใช้จ่าย สำหรับระบบเครือข่าย เสียงและข้อมูล ได้เป็นอย่างมาก
ISDN ย่อมาจาก Integrated Services Digital Network เป็นโปรโตคอล สำหรับสื่อสาร ที่ให้บริการ โดยบริษัทโทรศัพท์พื้นฐานต่างๆ สามารถให้บริการ เชื่อมต่อความเร็วสูง ระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ และเครือข่าย ในสถานที่ต่างๆ ได้
LAN เป็นคำย่อของ Local Area Network หรือเครือข่ายท้องถิ่น ซึ่งโดยปกติ หมายถึงเครือข่าย หรือกลุ่มของส่วนต่างๆ ของเครือข่าย ที่มีอยู่ ภายในห้องเดียวกัน หรือบริเวณอาคารเดียวกัน เกี่ยวข้องกับระบบ WAN
Modem โมเด็ม เป็นอุปกรณ์สำหรับ ต่อเชื่อมเครื่องคอมพิวเตอร์ เข้ากับ เครื่องคอมพิวเตอร์ และเครือข่ายอื่นๆ โดยอาศัย คู่สาย โทรศัพท์ธรรมดาเท่านั้น โมเด็มจะทำการ "โมดูเลต" สัญญาณดิจิตอล ของเครื่องคอมพิวเตอร์ เข้ากับสัญญาณแอนาล็อก สำหรับการส่งข้อมูล และทำการ "ดีโมดูเลต" สัญญาณแอนาล็อกเหล่านั้น กลับไปเป็น ข้อมูลดิจิตอล ที่คอมพิวเตอร์อีกฝั่งหนึ่ง สามารถเข้าใจได้
Packet เป็นกลุ่มของข้อมูลที่มีการรับส่งกันอยู่ ภายในเครือข่าย ที่มีการเติม "เฮดเดอร์" ซึ่งเป็นข้อมูล ที่บอกถึงลักษณะ ของข้อมูลที่บรรจุอยู่ภายใน และปลายทางของ แพ็คเก็ต เราสามารถเปรียบ แพ็คเก็ต ได้กับ "ซองใส่ข้อมูล" โดยที่มีส่วนเฮดเดอร์ เปรียบได้กับที่อยู่นั่นเอง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น