วันอาทิตย์ที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

ส่วนประกอบของระบบเครือข่าย



ส่วนประกอบของระบบเครือข่าย
การใช้งานระบบเครือข่ายนั้นประกอบด้วย จุดต่อ (Node) สำคัญ 2 ประเภท คือ แบบคอมพิวติงโหนด หรือจุดต่อ ที่ทำหน้าที่ประมวลผลข้อมูล และแบบสวิตชิงโหนด หรือจุดต่อที่ทำหน้าที่ส่งข้อมูล การส่งข้อมูลจากคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่ง ไปยังคอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่งจะส่งข้อมูลจากผู้ใช้ผ่านสวิตชิงโหนดและคอมพิวติงโหนดต่างๆ ไปถึงผู้รับ เมื่อผู้รับทำงานเสร็จก็จะส่งข้อมูลผ่านสวิตชิงโหนดต่างๆ กลับมายังผู้ส่ง
ส่วนประกอบของเครื่อข่ายคอมพิวเตอร์ นิยมแบ่งเป็น 2 ประเภทตามหน้าที่ของโหนด คือ
1. เครือข่ายส่วนย่อยของผู้ใช้ (User Subnetwork) ประกอบด้วยโฮสต์คอมพิวเตอร์ (Host Computer) หรือคอมพิวเตอร์แม่ข่าย และ เทอร์มินัลคอนโทรลเลอร์ (Terminal Controller) หรือส่วนควบคุมปลายทาง ซึ่งในการทำงานระบบนี้ คอมพิวเตอร์จะทำงานช้ามาก เพราะต้องรอการประมวลผลจากศูนย์กลางในการใช้งาน ทำให้ปัจจุบันมีระบบที่เรียกว่า ไคลเอนต์/เซิร์ฟเวอร์ (Client/Server) ขึ้นมาใช้งานแทน โดยที่มีการทำงานแบบกระจายคือ มีเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่เครื่องบริการ (Server) ให้บริการเก็บแฟ้มข้อมูล (File Server) , บริการพิมพ์งาน (Printing Server) เป็นต้น
ส่วนคอมพิวเตอร์ที่เป็นเครื่องรับบริการ (Client) จะมีหน่วยประมวลผลกลาง (CPU) ของตนเอง (จะมีฮาร์ดดิสก์ หรือเครื่องพิมพ์ด้วยก็ได้) เครื่องไคลเอนต์จะส่งคำของานไปยังคอมพิวเตอร์แม่ข่าย แล้วนำมาเก็บไว้ในซีพียูของตนเอง แล้วทำการประมวลผล จากนั้นก็ส่งกลับไปยังแม่ข่าย ทำให้การทำงานรวดเร็วขึ้น
2. เครือข่ายย่อยส่วนของการสื่อสาร (Communication Subnetwork) เป็นการติดต่อสื่อสารกันผ่านสายส่ง เพื่อส่งสารข้อมูลจากต้นทางไปถึงปลายทาง โดยผ่านทางสายเคเบิล สายโทรศัพท์ และสัญญาณดาวเทียม เป็นต้น
ซึ่งจะต้องมีตัวแปลงสัญญาณ เช่น โมเด็ม เพื่อแปลงสัญญาณจากคอมพิวเตอร์ให้เป็นสัญญาณที่ผ่านสายโทรศัพท์ได้ โหนดที่ทำหน้าที่เชื่อมประสานกับเครื่องย่อยของผู้ใช้ และทำหน้าที่ส่งข้อมูลผ่านเครือข่ายจากต้นทางไปยังปลายทางเราเรียกว่า เร้าเตอร์ (Routers)
ระบบเครือข่ายย่อยส่วนของการสื่อสาร แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ แบบจุดต่อจุด (Point to Point Channels) และ แบบแพร่กระจายข้อมูล (Broadcast Channels)

ข้อมูลจาก http://school.obec.go.th/ckn/network1/new_page_6.htm

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น